เตรียมนำตัวปั่นจั่นจัดให้ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ใช้การทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ้งหาจุดศูนย์กลางเพื่อหาระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile ตรงกับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้ จากนั้นนำเสาเสาเข็มไมโครไพล์ วางลงตำแหน่งที่กำหนดไว้
ทำการจับระดับน้ำตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้อง ตรวจสอบแนวดิ่งในตัวปั่นจั่นจากนั้นเริ่มตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกจนสุดแล้วเริ่มตามด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนที่ 2
หลังจากนั้นก็จัดการเชื่อมเต็มรอบหัวเสาเข็ม หัวใจสำคัญในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือตัวเสาเข็มไมโครไพล์จะต้องได้มาตราฐานตอกไม่แตก เนื้อปูนต้องได้คุณภาพ พร้อมทั้งเหล็กเส้นต้องเป็นเหล็กเส้นที่มีน้ำหนักเส้นเต็มได้มาตราฐาน
ประเภทของเสาเข็ม
ในการก่อสร้างบ้าน อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง "เสาเข็ม" ถือเป็นส่วนของโครงสร้างที่สำคัญที่รับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างจากชั้นหลังคามาสู่ชั้นดิน เพื่อให้สิ่งก่อสร้างไม่ทรุดและดำรงอยู่ได้ แต่หากเลือกใช้เสาเข็มไม่ได้มาตรฐานแล้วเกิดการทรุดตัว ไม่มั่นคง จะต้องแก้ไขที่ตัวเสาเข็ม เพื่อปรับปรุงฐานรากที่ไม่มั่นคง โดยใช้ “เสาเข็มไมโครไพล์” เพื่อซ่อมแซมโครงสร้างการทรุดตัวของตัว อาคาร บ้าน โรงงาน และเสริมรากฐานความมั่นคงแข็งแรงสูงของส่วนต่อขยายโครงสร้างได้ โดยเสาไมโครไพล์แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบใช้แรงเหวี่ยงและแบบอัดแรง
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 20 ซม. ขนาดความยาวท่อนละ 1.5 ม. รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 20-25 ตันต่อต้น ภายในเสาใช้เหล็กยืนขนาด 9 มม. ตามมาตรฐานมอก. จำนวน 6 เส้น เหล็กปลอก ขนาด 6 มม. ตามมาตรฐานมอก. ระยะ 15 ซม. เพลตเหล็กหัวเข็มหนา 6 มม. ความกว้าง 2 นิ้ว คอนกรีตมีกำลังอัด 400 กก./ตร.ซม. โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ Type 3
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 25 ซม. ขนาดความยาวท่อนละ 1.5 ม. รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 25-35 ตันต่อต้น ภายในเสาใช้เหล็กยืนขนาด 9 มม. ตามมาตรฐานมอก. จำนวน 8 เส้น เหล็กปลอก ขนาด 6 มม. ตามมาตรฐานมอก. ระยะ 15 ซม. เพลตเหล็กหัวเข็มหนา 6 มม. ความกว้าง 2 นิ้ว คอนกรีตมีกำลังอัด 400 กก./ตร.ซม. โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ Type 3